บริษัทกลางฯ ยอมรับ ปีนี้กำไรกว่า 50 ล้านบาท เหตุขาย พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ได้เยอะ คุมสินไหมอยู่หมัด เหลือแค่ 88% ต่ำกว่าตลาดที่มีอัตราสูงถึง 96% “สมพร” ย้ำชงไอเดียลดเงินสมทบ ที่บริษัทวินาศภัยต้องจ่ายให้บริษัทกลางฯ 2.25% ของเบี้ย พ.ร.บ.ในแต่ละปี เพื่อลดภาระผู้ถือหุ้น แต่กรมฯ ติดเบรคหวั่นมีปัญหา ส่วนกรณีวินาศภัยจ้องเลิกจ่ายเงินสมทบ มั่นใจบริษัทกลางฯ ไม่เคยทำธุรกิจเสียหาย แถมช่วยส่วนรวม โดยเฉพาะโครงการลดอุบัติเหตุ ทำให้วินาศภัยจ่ายสินไหมน้อยลง คาดปีหน้าเบี้ย จยย.เพิ่มอีก 10-15% แตะ 1,200 ล้านบาท เหตุบริษัทอื่นไม่ขายเพราะขาดทุน เสนอตัวทำเคลม พ.ร.บ.ให้วินาศภัย กินค่าธรรมเนียม 300 บาท/เคลม
นายสมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด เปิดเผย "สยามธุรกิจ" ว่า สิ้นปีนี้ บริษัทจะมีรายได้หรือกำไรที่หักค่าใช้จ่ายแล้วมากกว่ารายจ่าย ประมาณ 50 ล้านบาท มาจาก
1. เงินสมทบจากบริษัทประกันวินาศภัย อัตราปีละ 2.25% ของเบี้ยประกันภัยรถตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 หรือประกันภัยภาคบังคับ ประมาณ 150-160 ล้านบาทต่อปี 2. การรับประกันภัยรถจักรยานยนต์ มีเบี้ยประมาณ 1,000 ล้านบาท หักรายจ่ายจากอัตราค่าสินไหมทดแทน (Loss Ratio) อยู่ที่ 88% ต่ำกว่าตลาดที่สูงถึง 96% และค่าใช้จ่ายอื่นๆ จะมีกำไรกว่า 30 ล้านบาท
3. ขายประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (พีเอ) เอื้ออาทร และค่าธรรมเนียมจากการรับจ้างจัดการเคลมให้กับบริษัทอื่นๆ อัตรา 300 บาท/เคลม รวมกำไร 2 ส่วนนี้ 10 ล้านบาท
อย่างไรก็ดี รายรับ 50 ล้านบาทข้างต้น ต่ำกว่ารายรับในปี 2548 ที่มียอดอยู่ที่ 60 ล้านบาท เนื่องจากในปีนั้นได้คอมมิสชั่นจากกองกลางรับประกันภัยรถจักรยานยนต์ (CMIP) อยู่ที่ 12% แต่บริษัทกลางฯ จ่ายค่าคอมมิสชั่นในการขายประกันรถจักรยานยนต์ให้กับตัวแทน ในอัตราเพียง 10% เท่านั้น จึงมีส่วนต่าง 2% แต่เมื่อ CMIP ถูกยุบไป เนื่องจากมีหลายบริษัทถอนตัวออกไปขายประกันรถจักรยานยนต์เอง เพราะเริ่มเห็นกำไรทำให้รายได้ในส่วนนี้หายไป
"เท่าที่ทราบหลายบริษัทที่ถอนตัวอออกไป และตั้งใจจะขายประกันรถจักรยานยนต์เองก็ไม่ได้ขาย และไม่สนใจจะขายด้วย เพราะคุม Loss Ratio ไม่ได้ อีกทั้งเบี้ยรถจักรยานยนต์ต่ำมาก แค่คันละ 300 บาท ไม่คุ้มเมื่อเทียบกับเบี้ยรถยนต์คันละเป็นหมื่นบาท ดังนั้น หลายบริษัทจึงทยอยเลิก ผลจากการที่หลายบริษัททยอยเลิก จึงทำให้รถจักรยานยนต์ไหลมาอยู่ที่บริษัทกลางฯ มากขึ้น เบี้ยเพิ่มขึ้นถึง 10-12% เพราะไม่มีคู่แข่ง โดยการขายรถจักรยานยนต์ ถ้าไม่คุมสินไหมดีๆ ขาดทุนทันที ส่วนหนึ่งเพราะค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นทุกปี จากเดิมค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ยอยู่ที่ 6,000 บาท/คน ขยับมาอยู่ที่ 9,000 บาท/คน เพิ่มขึ้น 15% ต่อปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก"
นายสมพร กล่าวว่า จากรายรับที่มากกว่ารายจ่ายถึง 50 กว่าล้านบาท ทางบริษัทกลางฯ มีแนวคิดที่จะลดการพึ่งพา หรือลดเงินสมทมที่ผู้ถือหุ้น หรือบริษัทประกันวินาศภัยต้องจ่ายให้ในอัตรา 2.25% ต่อปี หรือประมาณ 150-160 ล้านบาท โดยอาจจะอาจจะปรับลดลงเหลือแค่ปีละ 100 ล้านบาท เพื่อช่วยลดภาระของผู้ถือหุ้น และให้การจัดเก็บเงินสมทบเหมาะสมกับค่าใช้จ่ายจริงที่ลดลงจากในอดีต แต่ไม่ใช่ให้เลิกรับ หรือบริษัทประกันภัยวินาศภัยจะเลิกจ่ายเงินสมทบให้บริษัทกลางฯ เพราะหากทำเช่นนั้น บริษัทกลางฯ คงอยู่ไม่ได้ เนื่องจากเงินสมทบยังถือเป็นรายได้หลักอยู่ โดยเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ทางคณะกรรมการบริหาร บริษัทกลางฯ หรือ (บอร์ด) ได้เสนอขอลดอัตราเงินสมทบไปที่กรมการประกันภัยแล้ว
แต่ทางกรมการประกันภัยคัดค้าน เห็นว่ายังไม่สมควรที่จะลดเงินสมทบในตอนนี้ โดยให้เหตุผลว่า แม้บริษัทกลางฯ จะมีกำไร แต่เคยขาดทุนจำนวนมาก โดยยอดขาดทุนสะสมจากประกันภัยรถจักรยานยนต์ในรอบ 4 ปี คือ ตั้งแต่ปี 2542-2545 อยู่ที่ 80 กว่าล้านบาท ก่อนที่จะเริ่มมีกำไร ดังนั้น ควรที่จะเก็บเงินสมทบในอัตราเดิมไปก่อนเพื่อสะสมไว้ โดยเรื่องนี้อยู่ในขั้นตอนเสนอบอร์ดและกรมการประกันภัยเท่านั้น ยังไม่ได้นำเสนอกับทางผู้ถือหุ้น ซึ่งคาดว่าจะเสนอในการประชุมผู้ถือหุ้นในเดือนมีนาคมปีหน้า แต่มาเกิดเรื่องกรณีบริษัทประกันวินาศภัยมีแนวคิดให้ยกเลิกการจ่ายเงินสมทบเข้าบริษัทกลางฯ เสียก่อน
อย่างไรก็ดี นายสมพรกล่าวว่า บริษัทกลางฯ ไม่ได้เตรียมรับมือ หากผู้ถือหุ้นจะเลิกจ่ายเงินสมทบ เพราะมั่นใจว่า ตั้งแต่เปิดบริษัทกลางฯ ขึ้นมาไม่ได้ทำให้ธุรกิจเสียหาย ตรงข้ามกลับช่วยธุรกิจให้ดีขึ้น โดยเฉพาะการเข้าไปรับประกันภัยรถจักรยานยนต์ที่บริษัทอื่นไม่อยากรับ จากเดิมที่มี Loss Ratio สูงถึง 140% เมื่อบริษัทกลางฯ รับประกัน บริหาร Loss Ratio ลงเหลือ 108% ก่อนจะลดลงเหลือแค่ 92% ในช่วงปรับเบี้ยเป็น 300 ล้านบาท เมื่อ 3 ปีก่อน และลดลงเหลือ 88% ในปัจจุบัน จนทำให้บริษัทกลางฯ เริ่มมีกำไร อีกทั้งยังส่งเสริมภาพลักษณ์ธุรกิจ อาทิ การรณรงค์ป้องกันอุบัติภัยบนท้องถนน ทำให้อุบัติเหตุลดลง บริษัทประกันภัยจ่ายสินไหมน้อยลง เป็นต้น
ต่อข้อถามถึงการคุมต้นทุนด้านค่ารักษาพยาบาลที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง นายสมพรกล่าวว่า นอกจากคุมให้มีการจ่ายตามความบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจริง จุดไหนที่เป็นการรักษาที่ไม่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บจะไม่จ่ายแล้ว ยังมีระบบอี-เคลมที่เริ่มนำมาใช้เมื่อปลายปีที่ผ่านมา คือ ทันทีที่โรงพยาบาลรับผู้ประสบภัยจากรถเข้ารักษา จะแจ้งข้อมูลผ่านระบบอี-เมลเข้ามาที่บริษัทกลางฯ เพื่อให้ตรวจสอบข้อมูลผู้ประสบภัยมีประกันภัย พ.ร.บ.จริงหรือไม่ หากมีบริษัทกลางฯ รับเป็นเจ้าของไข้ โรงพยาบาลดำเนินการรักษาและตั้งเบิกค่ารักษาได้ทันที ลดการฉ้อฉลเกี่ยวกับเบิกค่ารักษาพยาบาลลงได้ประมาณ 5-10% ขณะที่โรงพยาบาลได้รับค่ารักษาพยาบาลอย่างรวดเร็ว ซึ่งการบริหารจัดการต้นทุนด้านค่ารักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ จะทำให้ Loss Ratio ในปีหน้า เพิ่มขึ้นเพียง 2% เท่านั้น จากที่ควรจะเพิ่มขึ้น 10-15% ตามต้นทุนค่ารักษา
ทั้งนี้ ในปีหน้าตนมีนโยบายที่จะเพิ่มโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชน เข้าสู่ระบบอี-เคลมเป็น 900 แห่ง ในปีหน้า จากปัจจุบันมีอยู่ 200 แห่งทั่วประเทศ รวมถึงเสนอตัวขอทำเคลมประกันภัย พ.ร.บ.ให้กับบริษัทอื่น เพื่อหารายได้จากค่าจัดการเคลม ซึ่งปัจจุบันอัตราการเคลม พ.ร.บ.อยู่ที่ 4-500,000 เคลมต่อปี เป็นเคลมของบริษัทกลางฯ ประมาณแสนเคลม หากบริษัทอื่นให้บริษัทกลางฯ เข้าไปช่วยจัดการเคลมอีก 3-400,000 เคลม ที่เหลือจะช่วยประหยัดต้นทุนในส่วนค่าเซอร์เวเยอร์ได้มาก ซึ่งขณะนี้บริษัทมีค่าใช้จ่ายด้านเซอร์เวเยอร์ 700 บาท/ครั้ง ขณะที่ค่าจัดการเคลมของบริษัทกลางฯ อยู่ที่ 300 บาท/ครั้ง โดยได้เริ่มขายไอเดียไปบ้างแล้ว บริษัทส่วนใหญ่เห็นด้วย
สำหรับเป้าหมายเบี้ยประกันภัยรถจักรยานยนต์ในปีหน้า ตั้งเป้าเพิ่มขึ้น 10-15% คิดเป็นเบี้ยประมาณ 1,100-1,200 ล้านบาท ไม่มีนโยบายขายแข่งกับบริษัทแม่ วัดจากการจ่ายค่าคอมมิสชั่น บริษัทกลางฯ จ่ายให้ตัวแทน 10 บาท บริษัทอื่นจ่าย 20 บาท โดยมีตัวแทน 2,800 คน ซึ่งเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากบริษัทอื่นไม่ขายงาน จะไหลมาอยู่ที่บริษัทกลางฯ อีกส่วนหนึ่ง การที่ภาครัฐได้ยกเลิกกติกาเบิกเครื่องหมายประกันภัย พ.ร.บ.(สติกเกอร์) จากเดิมกำหนดสัดส่วนการเบิกสติกเกอร์ 1:4 คือ เบิกรถยนต์ 1 คัน ต้องเบิกสติกเกอร์รถจักรยานยนต์ 4 คัน แต่เมื่อเลิกกฎนี้ไปทำให้ไม่มีข้อผูกมัด ซึ่งการที่บริษัทประกันภัยหลายแห่งไม่ขายประกันรถจักรยานยนต์ เริ่มมีประชาชนในหลายจังหวัดร้องเรียนไปที่สำนักงานประกันภัยจังหวัด หาซื้อประกันภัยรถจักรยานยนต์ไม่ได้ แม้บริษัทกลางฯ จะขายอยู่ แต่ไม่ได้มีสาขามากเหมือนบริษัทอื่น
เพิ่มเติม http://www.siamturakij.com
นายสมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด เปิดเผย "สยามธุรกิจ" ว่า สิ้นปีนี้ บริษัทจะมีรายได้หรือกำไรที่หักค่าใช้จ่ายแล้วมากกว่ารายจ่าย ประมาณ 50 ล้านบาท มาจาก
1. เงินสมทบจากบริษัทประกันวินาศภัย อัตราปีละ 2.25% ของเบี้ยประกันภัยรถตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 หรือประกันภัยภาคบังคับ ประมาณ 150-160 ล้านบาทต่อปี 2. การรับประกันภัยรถจักรยานยนต์ มีเบี้ยประมาณ 1,000 ล้านบาท หักรายจ่ายจากอัตราค่าสินไหมทดแทน (Loss Ratio) อยู่ที่ 88% ต่ำกว่าตลาดที่สูงถึง 96% และค่าใช้จ่ายอื่นๆ จะมีกำไรกว่า 30 ล้านบาท
3. ขายประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (พีเอ) เอื้ออาทร และค่าธรรมเนียมจากการรับจ้างจัดการเคลมให้กับบริษัทอื่นๆ อัตรา 300 บาท/เคลม รวมกำไร 2 ส่วนนี้ 10 ล้านบาท
อย่างไรก็ดี รายรับ 50 ล้านบาทข้างต้น ต่ำกว่ารายรับในปี 2548 ที่มียอดอยู่ที่ 60 ล้านบาท เนื่องจากในปีนั้นได้คอมมิสชั่นจากกองกลางรับประกันภัยรถจักรยานยนต์ (CMIP) อยู่ที่ 12% แต่บริษัทกลางฯ จ่ายค่าคอมมิสชั่นในการขายประกันรถจักรยานยนต์ให้กับตัวแทน ในอัตราเพียง 10% เท่านั้น จึงมีส่วนต่าง 2% แต่เมื่อ CMIP ถูกยุบไป เนื่องจากมีหลายบริษัทถอนตัวออกไปขายประกันรถจักรยานยนต์เอง เพราะเริ่มเห็นกำไรทำให้รายได้ในส่วนนี้หายไป
"เท่าที่ทราบหลายบริษัทที่ถอนตัวอออกไป และตั้งใจจะขายประกันรถจักรยานยนต์เองก็ไม่ได้ขาย และไม่สนใจจะขายด้วย เพราะคุม Loss Ratio ไม่ได้ อีกทั้งเบี้ยรถจักรยานยนต์ต่ำมาก แค่คันละ 300 บาท ไม่คุ้มเมื่อเทียบกับเบี้ยรถยนต์คันละเป็นหมื่นบาท ดังนั้น หลายบริษัทจึงทยอยเลิก ผลจากการที่หลายบริษัททยอยเลิก จึงทำให้รถจักรยานยนต์ไหลมาอยู่ที่บริษัทกลางฯ มากขึ้น เบี้ยเพิ่มขึ้นถึง 10-12% เพราะไม่มีคู่แข่ง โดยการขายรถจักรยานยนต์ ถ้าไม่คุมสินไหมดีๆ ขาดทุนทันที ส่วนหนึ่งเพราะค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นทุกปี จากเดิมค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ยอยู่ที่ 6,000 บาท/คน ขยับมาอยู่ที่ 9,000 บาท/คน เพิ่มขึ้น 15% ต่อปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก"
นายสมพร กล่าวว่า จากรายรับที่มากกว่ารายจ่ายถึง 50 กว่าล้านบาท ทางบริษัทกลางฯ มีแนวคิดที่จะลดการพึ่งพา หรือลดเงินสมทมที่ผู้ถือหุ้น หรือบริษัทประกันวินาศภัยต้องจ่ายให้ในอัตรา 2.25% ต่อปี หรือประมาณ 150-160 ล้านบาท โดยอาจจะอาจจะปรับลดลงเหลือแค่ปีละ 100 ล้านบาท เพื่อช่วยลดภาระของผู้ถือหุ้น และให้การจัดเก็บเงินสมทบเหมาะสมกับค่าใช้จ่ายจริงที่ลดลงจากในอดีต แต่ไม่ใช่ให้เลิกรับ หรือบริษัทประกันภัยวินาศภัยจะเลิกจ่ายเงินสมทบให้บริษัทกลางฯ เพราะหากทำเช่นนั้น บริษัทกลางฯ คงอยู่ไม่ได้ เนื่องจากเงินสมทบยังถือเป็นรายได้หลักอยู่ โดยเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ทางคณะกรรมการบริหาร บริษัทกลางฯ หรือ (บอร์ด) ได้เสนอขอลดอัตราเงินสมทบไปที่กรมการประกันภัยแล้ว
แต่ทางกรมการประกันภัยคัดค้าน เห็นว่ายังไม่สมควรที่จะลดเงินสมทบในตอนนี้ โดยให้เหตุผลว่า แม้บริษัทกลางฯ จะมีกำไร แต่เคยขาดทุนจำนวนมาก โดยยอดขาดทุนสะสมจากประกันภัยรถจักรยานยนต์ในรอบ 4 ปี คือ ตั้งแต่ปี 2542-2545 อยู่ที่ 80 กว่าล้านบาท ก่อนที่จะเริ่มมีกำไร ดังนั้น ควรที่จะเก็บเงินสมทบในอัตราเดิมไปก่อนเพื่อสะสมไว้ โดยเรื่องนี้อยู่ในขั้นตอนเสนอบอร์ดและกรมการประกันภัยเท่านั้น ยังไม่ได้นำเสนอกับทางผู้ถือหุ้น ซึ่งคาดว่าจะเสนอในการประชุมผู้ถือหุ้นในเดือนมีนาคมปีหน้า แต่มาเกิดเรื่องกรณีบริษัทประกันวินาศภัยมีแนวคิดให้ยกเลิกการจ่ายเงินสมทบเข้าบริษัทกลางฯ เสียก่อน
อย่างไรก็ดี นายสมพรกล่าวว่า บริษัทกลางฯ ไม่ได้เตรียมรับมือ หากผู้ถือหุ้นจะเลิกจ่ายเงินสมทบ เพราะมั่นใจว่า ตั้งแต่เปิดบริษัทกลางฯ ขึ้นมาไม่ได้ทำให้ธุรกิจเสียหาย ตรงข้ามกลับช่วยธุรกิจให้ดีขึ้น โดยเฉพาะการเข้าไปรับประกันภัยรถจักรยานยนต์ที่บริษัทอื่นไม่อยากรับ จากเดิมที่มี Loss Ratio สูงถึง 140% เมื่อบริษัทกลางฯ รับประกัน บริหาร Loss Ratio ลงเหลือ 108% ก่อนจะลดลงเหลือแค่ 92% ในช่วงปรับเบี้ยเป็น 300 ล้านบาท เมื่อ 3 ปีก่อน และลดลงเหลือ 88% ในปัจจุบัน จนทำให้บริษัทกลางฯ เริ่มมีกำไร อีกทั้งยังส่งเสริมภาพลักษณ์ธุรกิจ อาทิ การรณรงค์ป้องกันอุบัติภัยบนท้องถนน ทำให้อุบัติเหตุลดลง บริษัทประกันภัยจ่ายสินไหมน้อยลง เป็นต้น
ต่อข้อถามถึงการคุมต้นทุนด้านค่ารักษาพยาบาลที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง นายสมพรกล่าวว่า นอกจากคุมให้มีการจ่ายตามความบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจริง จุดไหนที่เป็นการรักษาที่ไม่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บจะไม่จ่ายแล้ว ยังมีระบบอี-เคลมที่เริ่มนำมาใช้เมื่อปลายปีที่ผ่านมา คือ ทันทีที่โรงพยาบาลรับผู้ประสบภัยจากรถเข้ารักษา จะแจ้งข้อมูลผ่านระบบอี-เมลเข้ามาที่บริษัทกลางฯ เพื่อให้ตรวจสอบข้อมูลผู้ประสบภัยมีประกันภัย พ.ร.บ.จริงหรือไม่ หากมีบริษัทกลางฯ รับเป็นเจ้าของไข้ โรงพยาบาลดำเนินการรักษาและตั้งเบิกค่ารักษาได้ทันที ลดการฉ้อฉลเกี่ยวกับเบิกค่ารักษาพยาบาลลงได้ประมาณ 5-10% ขณะที่โรงพยาบาลได้รับค่ารักษาพยาบาลอย่างรวดเร็ว ซึ่งการบริหารจัดการต้นทุนด้านค่ารักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ จะทำให้ Loss Ratio ในปีหน้า เพิ่มขึ้นเพียง 2% เท่านั้น จากที่ควรจะเพิ่มขึ้น 10-15% ตามต้นทุนค่ารักษา
ทั้งนี้ ในปีหน้าตนมีนโยบายที่จะเพิ่มโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชน เข้าสู่ระบบอี-เคลมเป็น 900 แห่ง ในปีหน้า จากปัจจุบันมีอยู่ 200 แห่งทั่วประเทศ รวมถึงเสนอตัวขอทำเคลมประกันภัย พ.ร.บ.ให้กับบริษัทอื่น เพื่อหารายได้จากค่าจัดการเคลม ซึ่งปัจจุบันอัตราการเคลม พ.ร.บ.อยู่ที่ 4-500,000 เคลมต่อปี เป็นเคลมของบริษัทกลางฯ ประมาณแสนเคลม หากบริษัทอื่นให้บริษัทกลางฯ เข้าไปช่วยจัดการเคลมอีก 3-400,000 เคลม ที่เหลือจะช่วยประหยัดต้นทุนในส่วนค่าเซอร์เวเยอร์ได้มาก ซึ่งขณะนี้บริษัทมีค่าใช้จ่ายด้านเซอร์เวเยอร์ 700 บาท/ครั้ง ขณะที่ค่าจัดการเคลมของบริษัทกลางฯ อยู่ที่ 300 บาท/ครั้ง โดยได้เริ่มขายไอเดียไปบ้างแล้ว บริษัทส่วนใหญ่เห็นด้วย
สำหรับเป้าหมายเบี้ยประกันภัยรถจักรยานยนต์ในปีหน้า ตั้งเป้าเพิ่มขึ้น 10-15% คิดเป็นเบี้ยประมาณ 1,100-1,200 ล้านบาท ไม่มีนโยบายขายแข่งกับบริษัทแม่ วัดจากการจ่ายค่าคอมมิสชั่น บริษัทกลางฯ จ่ายให้ตัวแทน 10 บาท บริษัทอื่นจ่าย 20 บาท โดยมีตัวแทน 2,800 คน ซึ่งเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากบริษัทอื่นไม่ขายงาน จะไหลมาอยู่ที่บริษัทกลางฯ อีกส่วนหนึ่ง การที่ภาครัฐได้ยกเลิกกติกาเบิกเครื่องหมายประกันภัย พ.ร.บ.(สติกเกอร์) จากเดิมกำหนดสัดส่วนการเบิกสติกเกอร์ 1:4 คือ เบิกรถยนต์ 1 คัน ต้องเบิกสติกเกอร์รถจักรยานยนต์ 4 คัน แต่เมื่อเลิกกฎนี้ไปทำให้ไม่มีข้อผูกมัด ซึ่งการที่บริษัทประกันภัยหลายแห่งไม่ขายประกันรถจักรยานยนต์ เริ่มมีประชาชนในหลายจังหวัดร้องเรียนไปที่สำนักงานประกันภัยจังหวัด หาซื้อประกันภัยรถจักรยานยนต์ไม่ได้ แม้บริษัทกลางฯ จะขายอยู่ แต่ไม่ได้มีสาขามากเหมือนบริษัทอื่น
เพิ่มเติม http://www.siamturakij.com
Sign up here with your email
ConversionConversion EmoticonEmoticon