"ไทเกอร์" รู้หลบ ปรับแผนหันมาเน้นรับจ้างผลิตแทน รับก่อนหน้าทำตลาดแข่งกับแบรนด์ญี่ปุ่นเจ็บตัวเยอะ ล่าสุดเตรียมรับจ้างผลิตรถ "มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า" อีกยี่ห้อ ส่วน "ไทเกอร์-แซคส์" ยังเดินหน้าทำตลาดต่อ แต่ขอปรับยุทธศาสตร์เล็กน้อย นายปริย มโนมัยพิบูลย์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาการตลาด บริษัท ไบค์แคร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย รถจักรยานยนต์ยี่ห้อ "ไทเกอร์" และ "แซคส์" เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า บริษัทได้ปรับแผนการดำเนินธุรกิจใหม่ทั้งหมดจากเดิมทำหน้าที่ผลิตและจำหน่าย หลังจากนี้ไปจะเน้นเป็นเพียงผู้รับจ้างผลิตรถจักรยานยนต์ (โออีเอ็ม) ให้กับแบรนด์ ต่าง ๆ เพื่อส่งออกไปขายต่างประเทศ อาทิ มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น, อเมริกา และยุโรป โดยจะใช้ชื่อ "แบรนด์" แตกต่างกันไปตามแต่ละตัวแทนจำหน่ายประเทศนั้น ๆ ยกเว้นเพียงในฟิลิปปินส์เท่านั้นที่ยังคงใช้แบรนด์ "ไทเกอร์"
"ตลาดส่งออกเราจะมีการส่งออกไปขายในแต่ละประเทศเยอะมาก ในอินโดนีเซีย มียอดขายมากกว่า 200 คันต่อเดือน ส่วนอนาคตคาดว่ายอดจะเพิ่มขึ้นเป็น 400 คันต่อเดือน ส่วนในมาเลเซียและฟิลิปปินส์นั้น ก็มียอดหลายร้อยคันต่อเดือน ในขณะที่ญี่ปุ่นก็มีการส่งออกไปด้วยเช่นกัน"
นายปริยกล่าวถึงเหตุผลที่หันมาเน้นรับจ้างผลิตแทน เนื่องจากก่อนหน้านี้ ไทเกอร์ทำตลาดรถจักรยานยนต์แข่งกับ แบรนด์ใหญ่ ๆ ของญี่ปุ่น ซึ่งการแข่งขันรุนแรงมาก และต้องใช้เงินจำนวนมากในการปลุกตลาด ซึ่งหากเปรียบเทียบกับการรับจ้างผลิต มีกำไรกว่าเยอะ
"จะเห็นว่าในช่วง 3-4 ปีก่อนหน้านี้ เรามียอดการผลิตรถจักรยานยนต์อยู่ที่เดือนละ 4,000-6,000 คันต่อเดือน ขณะนั้นบริษัทยังมุ่งเน้นทำตลาดด้วยการผลิตรถจักรยานยนต์ชนกับแบรด์ดัง ๆ ของญี่ปุ่น เจ็บตัวไปเยอะเลย ตอนนี้หันมารับจ้างผลิตรถจักรยานยนต์ หลายคนบอกว่าเราเดินถูกทางแล้ว"
ล่าสุดบริษัทได้ร่วมมือกับบริษัท อิเล็ค มอเตอร์สปอร์ต จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าจากอเมริกา ผลิตรถจักรยานยนต์ไฟฟ้ายี่ห้อ "เนทีฟ" เพื่อส่งผลิตและส่งออกไปยังอเมริกาและยุโรป ยังอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อผลิตรถจักรยานยนต์โมเดลใหม่ ซึ่งเป็นรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า คาดว่าจะมียอดผลิตอยู่ที่ 200-500 คัน
นายปริยกล่าวถึงแนวทางการรุกตลาดรถจักรยานยนต์แซคส์ไบค์ว่า จะหันไปโฟกัสเฉพาะกลุ่มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะมีรูปร่างหน้าตาแตกต่างไปจากรถจักรยานยนต์ที่ทำตลาดอยู่ในบ้านเราปัจจุบัน ขณะที่แบรนด์ "ไทเกอร์" ก็จะมุ่งเน้นไปในกลุ่มรถย้อนยุค เช่น รุ่น "รีโท" ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมานั้น ได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี ส่วนรุ่น "บ็อคเซอร์" ซึ่งเป็นรุ่นที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี หลังจากที่บริษัทใช้วิธีการเข้าไปทำตลาดด้วยวิธีประมูลงานจากภาครัฐ จากนี้ไปบริษัทก็จะพยายามเข้าไปประมูลงานตรงนี้เพิ่มขึ้นด้วย
ส่วนรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่นั้น หลังจากที่ปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจมาเจาะกลุ่มรถจักรยานยนต์เฉพาะกลุ่มมากขึ้น บริษัทเตรียมส่งรถจักรยานยนต์ประเภทสปอร์ต คลาสสิกออกสู่ตลาดในเร็ว ๆ นี้ ส่วนรถจักรยายนต์ไฟฟ้านั้น แม้ว่าปัจจุบันในประเทศไทยจะยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก แต่ก็เชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้ จากเทรนด์ของตลาดรถจักรยายนต์ประเภทนี้จะได้รับความนิยมอย่างแน่นอน
สำหรับกำลังการผลิตของบริษัทในปัจจุบันนั้น มีกำลังการผลิตอยู่ที่ประมาณ 1,200 คันต่อเดือน แบ่งเป็นการผลิต เพื่อจำหน่ายในประเทศ 700 คันต่อเดือน และการผลิตเพื่อจำหน่ายไปยังต่างประเทศอีก 500 คันต่อเดือน แต่เนื่องจากช่วงที่ ผ่านมา บริษัทต้องเผชิญกับปัญหาภาวะเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงขาลง ทำให้ต้องปรับเป้าการผลิตเหลือเพียง 1,000 คันต่อเดือนเท่านั้น
"ตลาดส่งออกเราจะมีการส่งออกไปขายในแต่ละประเทศเยอะมาก ในอินโดนีเซีย มียอดขายมากกว่า 200 คันต่อเดือน ส่วนอนาคตคาดว่ายอดจะเพิ่มขึ้นเป็น 400 คันต่อเดือน ส่วนในมาเลเซียและฟิลิปปินส์นั้น ก็มียอดหลายร้อยคันต่อเดือน ในขณะที่ญี่ปุ่นก็มีการส่งออกไปด้วยเช่นกัน"
นายปริยกล่าวถึงเหตุผลที่หันมาเน้นรับจ้างผลิตแทน เนื่องจากก่อนหน้านี้ ไทเกอร์ทำตลาดรถจักรยานยนต์แข่งกับ แบรนด์ใหญ่ ๆ ของญี่ปุ่น ซึ่งการแข่งขันรุนแรงมาก และต้องใช้เงินจำนวนมากในการปลุกตลาด ซึ่งหากเปรียบเทียบกับการรับจ้างผลิต มีกำไรกว่าเยอะ
"จะเห็นว่าในช่วง 3-4 ปีก่อนหน้านี้ เรามียอดการผลิตรถจักรยานยนต์อยู่ที่เดือนละ 4,000-6,000 คันต่อเดือน ขณะนั้นบริษัทยังมุ่งเน้นทำตลาดด้วยการผลิตรถจักรยานยนต์ชนกับแบรด์ดัง ๆ ของญี่ปุ่น เจ็บตัวไปเยอะเลย ตอนนี้หันมารับจ้างผลิตรถจักรยานยนต์ หลายคนบอกว่าเราเดินถูกทางแล้ว"
ล่าสุดบริษัทได้ร่วมมือกับบริษัท อิเล็ค มอเตอร์สปอร์ต จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าจากอเมริกา ผลิตรถจักรยานยนต์ไฟฟ้ายี่ห้อ "เนทีฟ" เพื่อส่งผลิตและส่งออกไปยังอเมริกาและยุโรป ยังอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อผลิตรถจักรยานยนต์โมเดลใหม่ ซึ่งเป็นรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า คาดว่าจะมียอดผลิตอยู่ที่ 200-500 คัน
นายปริยกล่าวถึงแนวทางการรุกตลาดรถจักรยานยนต์แซคส์ไบค์ว่า จะหันไปโฟกัสเฉพาะกลุ่มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะมีรูปร่างหน้าตาแตกต่างไปจากรถจักรยานยนต์ที่ทำตลาดอยู่ในบ้านเราปัจจุบัน ขณะที่แบรนด์ "ไทเกอร์" ก็จะมุ่งเน้นไปในกลุ่มรถย้อนยุค เช่น รุ่น "รีโท" ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมานั้น ได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี ส่วนรุ่น "บ็อคเซอร์" ซึ่งเป็นรุ่นที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี หลังจากที่บริษัทใช้วิธีการเข้าไปทำตลาดด้วยวิธีประมูลงานจากภาครัฐ จากนี้ไปบริษัทก็จะพยายามเข้าไปประมูลงานตรงนี้เพิ่มขึ้นด้วย
ส่วนรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่นั้น หลังจากที่ปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจมาเจาะกลุ่มรถจักรยานยนต์เฉพาะกลุ่มมากขึ้น บริษัทเตรียมส่งรถจักรยานยนต์ประเภทสปอร์ต คลาสสิกออกสู่ตลาดในเร็ว ๆ นี้ ส่วนรถจักรยายนต์ไฟฟ้านั้น แม้ว่าปัจจุบันในประเทศไทยจะยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก แต่ก็เชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้ จากเทรนด์ของตลาดรถจักรยายนต์ประเภทนี้จะได้รับความนิยมอย่างแน่นอน
สำหรับกำลังการผลิตของบริษัทในปัจจุบันนั้น มีกำลังการผลิตอยู่ที่ประมาณ 1,200 คันต่อเดือน แบ่งเป็นการผลิต เพื่อจำหน่ายในประเทศ 700 คันต่อเดือน และการผลิตเพื่อจำหน่ายไปยังต่างประเทศอีก 500 คันต่อเดือน แต่เนื่องจากช่วงที่ ผ่านมา บริษัทต้องเผชิญกับปัญหาภาวะเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงขาลง ทำให้ต้องปรับเป้าการผลิตเหลือเพียง 1,000 คันต่อเดือนเท่านั้น
Sign up here with your email
ConversionConversion EmoticonEmoticon