คำกล่าว “ไม่มีความปลอดภัย ไม่มีการผลิต” ที่ “โซอิจิโร่ ฮอนด้า” ผู้ก่อตั้ง ฮอนด้า มอเตอร์ ให้ไว้เป็นนโนบายสำหรับโรงงานผลิตของฮอนด้า ซึ่งถูกยึดถือเป็นแนวทางหลักของกลุ่มผู้ผลิตรถฮอนด้าทั่วโลก สำหรับในประเทศไทย คำกล่าวนี้ไม่ใช่เพียงคำขวัญที่แปะอยู่บนฝาผนังธรรมดา เพราะว่าได้รับการพิสูจน์และยืนยันจากการคว้า “รางวัลสถานประกอบการดีเด่นด้านความปลอดภัยฯ” ถึง 14 ปีซ้อน รายแรกและรายเดียว
เพิ่อพิสูจน์ให้เห็นกับตา ทีมงาน “ASTVผู้จัดการมอเตอริ่ง” ได้รับเชิญเยี่ยมชมโรงงานไทยฮอนด้า และพร้อมสัมภาษณ์ “ประกิจ ชุณหชา” กรรมการบริหาร บริษัท ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ถึงที่มาที่ไปและนโยบายต่างในอนาคตของโรงงานฮอนด้าแห่งนี้
-ความเป็นมาของโรงงาน?
โรงงานแห่งนี้เป็นของ บริษัท ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ผลิตรถจักรยานยนต์และเครื่องยนต์เอนกประสงค์ รวมถึงชิ้นส่วนเพื่อการประกอบของฮอนด้า ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง
ส่วนตัวบริษัทก่อตั้งเมื่อปี พ.ค. 2508 หรือราว 44 ปี มาแล้ว โดยมีสำนักงานแห่งแรกอยู่ที่สำโรง เริ่มแรกนำเข้าเครื่องยนต์เพื่อมาประกอบเป็นรถจักรยานยนต์ ก่อนจะย้ายมาเปิดโรงงานแห่งใหม่ที่ลาดกระบัง เมื่อปี 2535 และอยู่มาจนถึงปัจจุบัน
-ขนาดและกำลังการผลิต?
พื้นที่ของโรงงานมีทั้งสิ้นกว่า 168 ไร่ แบ่งเป็นส่วนของโรงงานผลิตรถจักรยานยนต์ โรงงานผลิตเครื่องยนต์เอนกประสงค์ โรงหล่อชิ้นส่วน และพื้นที่สำหรับสนามฟุตบอลและจอดรถ
ด้านกำลังการผลิต โรงงานผลิตรถจักรยานยนต์ สามารถรองรับการผลิตรถจักรยานยนต์ ขนาด 100-200 ซีซี, เครื่องยนต์ระบบ 4 จังหวะ จำนวน 1.6 ล้านคันต่อปี ซึ่งสถิติสูงสุดที่เคยผลิตได้จริงอยู่ที่ 1.4 ล้านกว่าคัน เมื่อราว 2 ปีก่อนนับเป็นโรงงานที่มีกำลังการผลิตสูงเป็นอันดับที่ 2 ของโลก ส่งออกไปจำหน่ายยัง 20 ประเทศทั่วโลก
ส่วน โรงงานผลิตเครื่องยนต์เอนกประสงค์ รองรับการผลิตเครื่องยนต์เอนกประสงค์ขนาด 120-390 ซีซี จำนวน 2.7 ล้านเครื่องต่อปี โดยเครื่องยนต์ดังกล่าวสามารถดัดแปลงเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายชนิดเช่น เครื่องตัดหญ้า, เครื่องสูบน้ำ, เครื่องปั่นไฟ และ เครื่องติดท้ายเรือ เป็นต้น ซึ่งถือเป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออกของฮอนด้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยส่งออกไปกว่า 80 ประเทศทั่วโลก
-รางวัลที่ได้รับ?
ด้านการผลิต ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO 9002 เมื่อปี 2538, ด้านสิ่งแวดล้อม ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO 14001 เมื่อปี 2541 , รับรางวัลสถานประกอบการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการ จากกระทรวงแรงงาน 7 ปีติดต่อกัน และรางวัลอื่นๆ อีกหลายรายการ
ส่วนรางวัลที่ภูมิใจมากที่สุด คือ รางวัลสถานประกอบการดีเด่นด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในการทำงานจากกระทรวงแรงงาน โดยได้รับมา 14 ปีติดต่อกัน นับตั้งแต่ปี 2539 จนถึงปีปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นสถานประกอบการที่ได้รับรางวัลนี้ติดต่อกันสูงสุดในประเทศไทย
-ความปลอดภัยทำได้อย่างไร?
บริษัทฯ ยึดหลักจากนโยบาย “ไม่มีความปลอดภัย ไม่มีการผลิต”(No Safety = No production) ของบริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทแม่ที่ประเทศญี่ปุ่น และเริ่มบริหารความปลอดภัยตั้งแต่ปี 2537 โดยมีเป้าหมายเพื่อลดอุบัติเหตุให้เหลือศูนย์
ซึ่งระบบบริหารความปลอดภัยจะประกอบด้วย ผู้บริหารให้การสนับสนุน, กำหนดนโนบายเป็นลายลักษณ์อักษร, จัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย, กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบตั้งแต่ผู้บริหารจนถึงพนักงานและ กำหนดกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย
เคล็ดลับนอกจากการรักษาสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย บริษัทฯ มุ่งเน้นยกระดับจิตสำนึกด้านความปลอดภัยของพนักงานให้มากขึ้นด้วยการใช้กระบวนการสร้างพฤติกรรมความปลอดภัย(Behavior Based Safety) ซึ่งเป็นกระบวนการในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงให้เป็นพฤติกรรมที่ปลอดภัย
-อนาคตของโรงงาน?
ด้านความปลอดภัย มีการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ระบบความปลอดภัย ILO-OSH2001 ซึ่งเป็นมาตรฐานด้านความปลอดภัยของโรงงานอุตสาหกรรมที่สูงที่สุด
ด้านกำลังการผลิต มีการปรับปรุงไลน์ผลิตและลงทุนเพิ่มทุกปี สำหรับปีที่แล้ว ลงทุนไปกว่า 1,700 ล้านบาท สูงกว่าปกติที่จะลงทุนปีละประมาณ 1,100 ล้านบาท เนื่องจากมีการย้ายฐานการผลิตเครื่องยนต์เอนกประสงค์จากญี่ปุ่นมาอยู่ผลิตที่โรงงานในเมืองไทยแทน ด้วยเหตุผลเรื่องของต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่า แต่ได้มาตรฐานเหมือนกับของเดิมที่ผลิตในญี่ปุ่น
ในแง่ของการขยายกำลังการผลิตคาดว่า จะยังไม่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก และโรงงานยังคงมีกำลังการผลิตเหลือพอ จากสถานการณ์ยอดขายรถจักรยานยนต์ปัจจุบัน ฮอนด้า ประเมินว่า จะขายได้ 1 ล้านคัน/ปี ฉะนั้นจึงยังไม่มีความจำเป็นในส่วนนี้
เพิ่มเติม http://manager.co.th/Motoring/ViewNews.aspx?NewsID=9520000078650
เพิ่อพิสูจน์ให้เห็นกับตา ทีมงาน “ASTVผู้จัดการมอเตอริ่ง” ได้รับเชิญเยี่ยมชมโรงงานไทยฮอนด้า และพร้อมสัมภาษณ์ “ประกิจ ชุณหชา” กรรมการบริหาร บริษัท ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ถึงที่มาที่ไปและนโยบายต่างในอนาคตของโรงงานฮอนด้าแห่งนี้
-ความเป็นมาของโรงงาน?
โรงงานแห่งนี้เป็นของ บริษัท ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ผลิตรถจักรยานยนต์และเครื่องยนต์เอนกประสงค์ รวมถึงชิ้นส่วนเพื่อการประกอบของฮอนด้า ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง
ส่วนตัวบริษัทก่อตั้งเมื่อปี พ.ค. 2508 หรือราว 44 ปี มาแล้ว โดยมีสำนักงานแห่งแรกอยู่ที่สำโรง เริ่มแรกนำเข้าเครื่องยนต์เพื่อมาประกอบเป็นรถจักรยานยนต์ ก่อนจะย้ายมาเปิดโรงงานแห่งใหม่ที่ลาดกระบัง เมื่อปี 2535 และอยู่มาจนถึงปัจจุบัน
-ขนาดและกำลังการผลิต?
พื้นที่ของโรงงานมีทั้งสิ้นกว่า 168 ไร่ แบ่งเป็นส่วนของโรงงานผลิตรถจักรยานยนต์ โรงงานผลิตเครื่องยนต์เอนกประสงค์ โรงหล่อชิ้นส่วน และพื้นที่สำหรับสนามฟุตบอลและจอดรถ
ด้านกำลังการผลิต โรงงานผลิตรถจักรยานยนต์ สามารถรองรับการผลิตรถจักรยานยนต์ ขนาด 100-200 ซีซี, เครื่องยนต์ระบบ 4 จังหวะ จำนวน 1.6 ล้านคันต่อปี ซึ่งสถิติสูงสุดที่เคยผลิตได้จริงอยู่ที่ 1.4 ล้านกว่าคัน เมื่อราว 2 ปีก่อนนับเป็นโรงงานที่มีกำลังการผลิตสูงเป็นอันดับที่ 2 ของโลก ส่งออกไปจำหน่ายยัง 20 ประเทศทั่วโลก
ส่วน โรงงานผลิตเครื่องยนต์เอนกประสงค์ รองรับการผลิตเครื่องยนต์เอนกประสงค์ขนาด 120-390 ซีซี จำนวน 2.7 ล้านเครื่องต่อปี โดยเครื่องยนต์ดังกล่าวสามารถดัดแปลงเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายชนิดเช่น เครื่องตัดหญ้า, เครื่องสูบน้ำ, เครื่องปั่นไฟ และ เครื่องติดท้ายเรือ เป็นต้น ซึ่งถือเป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออกของฮอนด้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยส่งออกไปกว่า 80 ประเทศทั่วโลก
-รางวัลที่ได้รับ?
ด้านการผลิต ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO 9002 เมื่อปี 2538, ด้านสิ่งแวดล้อม ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO 14001 เมื่อปี 2541 , รับรางวัลสถานประกอบการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการ จากกระทรวงแรงงาน 7 ปีติดต่อกัน และรางวัลอื่นๆ อีกหลายรายการ
ส่วนรางวัลที่ภูมิใจมากที่สุด คือ รางวัลสถานประกอบการดีเด่นด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในการทำงานจากกระทรวงแรงงาน โดยได้รับมา 14 ปีติดต่อกัน นับตั้งแต่ปี 2539 จนถึงปีปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นสถานประกอบการที่ได้รับรางวัลนี้ติดต่อกันสูงสุดในประเทศไทย
-ความปลอดภัยทำได้อย่างไร?
บริษัทฯ ยึดหลักจากนโยบาย “ไม่มีความปลอดภัย ไม่มีการผลิต”(No Safety = No production) ของบริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทแม่ที่ประเทศญี่ปุ่น และเริ่มบริหารความปลอดภัยตั้งแต่ปี 2537 โดยมีเป้าหมายเพื่อลดอุบัติเหตุให้เหลือศูนย์
ซึ่งระบบบริหารความปลอดภัยจะประกอบด้วย ผู้บริหารให้การสนับสนุน, กำหนดนโนบายเป็นลายลักษณ์อักษร, จัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย, กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบตั้งแต่ผู้บริหารจนถึงพนักงานและ กำหนดกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย
เคล็ดลับนอกจากการรักษาสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย บริษัทฯ มุ่งเน้นยกระดับจิตสำนึกด้านความปลอดภัยของพนักงานให้มากขึ้นด้วยการใช้กระบวนการสร้างพฤติกรรมความปลอดภัย(Behavior Based Safety) ซึ่งเป็นกระบวนการในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงให้เป็นพฤติกรรมที่ปลอดภัย
-อนาคตของโรงงาน?
ด้านความปลอดภัย มีการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ระบบความปลอดภัย ILO-OSH2001 ซึ่งเป็นมาตรฐานด้านความปลอดภัยของโรงงานอุตสาหกรรมที่สูงที่สุด
ด้านกำลังการผลิต มีการปรับปรุงไลน์ผลิตและลงทุนเพิ่มทุกปี สำหรับปีที่แล้ว ลงทุนไปกว่า 1,700 ล้านบาท สูงกว่าปกติที่จะลงทุนปีละประมาณ 1,100 ล้านบาท เนื่องจากมีการย้ายฐานการผลิตเครื่องยนต์เอนกประสงค์จากญี่ปุ่นมาอยู่ผลิตที่โรงงานในเมืองไทยแทน ด้วยเหตุผลเรื่องของต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่า แต่ได้มาตรฐานเหมือนกับของเดิมที่ผลิตในญี่ปุ่น
ในแง่ของการขยายกำลังการผลิตคาดว่า จะยังไม่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก และโรงงานยังคงมีกำลังการผลิตเหลือพอ จากสถานการณ์ยอดขายรถจักรยานยนต์ปัจจุบัน ฮอนด้า ประเมินว่า จะขายได้ 1 ล้านคัน/ปี ฉะนั้นจึงยังไม่มีความจำเป็นในส่วนนี้
เพิ่มเติม http://manager.co.th/Motoring/ViewNews.aspx?NewsID=9520000078650
Sign up here with your email
ConversionConversion EmoticonEmoticon